ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ฟรานซิส คริก

ฟรานซิส คริก (Francis Harry Compton Crick OM FRS (8 มิถุนายน พ.ศ. 2459 – 28 กรกฎาคม 2547) นักอณูชีววิทยาชาวอังกฤษ นักฟิสิกส์และนักประสาทวิทยาศาสตร์ ผู้ได้รับการยกย่องเป็นผู้ร่วมค้นพบโครงสร้างโมเลกุลของ “กรดดีออกซีไรโบนิวคลิอิก” หรือ “ดีเอ็นเอ” เมื่อ พ.ศ. 2496 ฟรานซิส คริก กับ เจมส์ ดี. วัตสัน ผู้ร่วมค้นพบ ได้ร่วมรับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยา หรือ การแพทย์ “สำหรับการค้นพบที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างโมเลกุลของกรดนิวคลิอิกและความสำคัญของมันในการถ่ายทอดข้อมูลสำคัญในสิ่งมีชีวิต”

งานของฟรานซิส คริกในช่วงหลังจนถึงปี พ.ศ. 2520 ที่หอทดลองอณูชีววิทยา “เอ็มอาร์ซี” หรือ “สภาวิจัยทางการแพทย์” (MRC-Medical Research Council) ไม่ได้รับการยอมรับเป็นทางการมากนัก ในช่วงท้ายในชีวิตงาน คริกได้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์เมธีวิจัย “เจ ดับบลิว คีกเคเฟอร์” ที่ “สถาบันซอล์คชีววิทยาศึกษา” ที่เมืองลาโฮลา รัฐแคลิฟอร์เนีย และได้ดำรงตำแหน่งนี้จนสิ้นชีวิตเมื่ออายุได้ 88 ปี

ฟรานซิส คริกเป็นบุตรชายคนโตของแฮรีและอเล็ก คริก เกิดและเติบโตที่เวสตัน ฟาเวล หมู่บ้านเล็กๆ ของเมืองนอร์แทมตัน ประเทศอังกฤษ ครอบครัวของคริกทำโรงงานผลิตและทำธุรกิจด้านรองเท้า คริกสนใจวิทยาศาสตร์มาตั้งแต่วัยเด็กเล็กโดยเรียนจากหนังสือ เมื่ออายุ 12 ปี คริกบอกพ่อแม่ว่าจะไม่ไปโบสถ์อีกเพราะสนใจที่จะหาคำตอบในศาสนาโดยใช้หลักวิทยาศาสตร์มากกว่าการใช้ศรัทธาและความเชื่อ คริกได้รับการศึกษาในนอร์แทมตัน หลังอายุ 14 ปี คริกศึกษาด้านคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์และเคมี เมื่ออายุ 21 ปีจบปริญญาตรีวิทยาศาสตร์บัณฑิตสาขาเคมี

ฟรานซิส คริกเริ่มงานวิจัยระดับปริญญาเอกเกี่ยวกับการวัดความหนืดของน้ำในอุณหภูมิสูง แต่เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น คริกหันความสนใจไปทางด้านฟิสิกส์แทน และในระหว่างสงคราม คริกเข้าทำงานที่หอวิจัยกระทรวงทหารเรือ (Admiralty Research Laboratory) ซึ่งเป็นที่สร้างนักวิทยาศาสตร์เด่นๆ หลายคนของอังกฤษ คริกทำงานในโครงการออกแบบทุ่นระเบิดแบบใช้แม่เหล็กและแบบใช้เสียงสะท้อนซึ่งใช้ได้ผลดี สามารถหลีกพ้นจากการตรวจจับจากเรือกวาดทุ่นระเบิดเยอรมันได้

หลังสงคราม ฟรานซิส คริกเริ่มศึกษาทางชีววิทยาและกลายการส่วนสำคัญของการเคลื่อนไหลวิชาฟิสิกส์เข้าไปในสาขาชีววิทยาซึ่งนำโดยจอห์น แรนดอลล์ ผู้คิดค้นและประดิษฐ์เครื่องเรดาร์ที่มีส่วนให้สัมพันธมิตรชนะสงคราม คริกต้องปรับตัวจาก “การเข้าลึก ง่ายและสง่างามของฟิสิกส์” มาสู่ “การวิวัฒนาการเป็นพันล้านปีในกลไกของทางเคมีที่ซับซ้อนของสิ่งมีชีวิตที่เกิดจากการคัดเลือกโดยธรรมชาติ” ด้วยประสบการณ์ทางสาขาฟิสิกส์ที่ได้มีการค้นพบสิ่งต่างๆ ที่โด่งดังมาแล้วมากมาย คริกจึงคิดว่าด้านชีววิทยาก็น่าจะมีการค้นพบสิ่งสำคัญที่โด่งดังได้เช่นกัน ซึ่งเป็นทัศนคติที่ทำให้คริกมีความมุมานะบากบั่นค้นคว้าในสิ่งยากและท้าทาย

คริกทำงานที่หอปฏิบัติการทดลองที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ 2 ปี โดยค้นคว้าคุณสมบัติทางฟิสิกส์ของไซโตพลาซึม และย้ายมาทำงานร่วมกับแมกซ์ เปรุทซ์ นักอณูชีววิทยาที่หอคาร์เวนดิชซึ่งอำนวยการโดยเซอร์ ลอว์เลนซ์ แบรกก์ ผู้ได้รับรางวัลโนเบลเมื่อ พ.ศ. 2458 ด้วยอายุ 25 ปี เซอร์ แบรกก์ เป็นคู่แข่งกับ ไลนัส พอลิง นักเคมีชาวอเมริกันที่กำลังแข่งขันชิงดีชิงเด่นเพื่อการค้นพบโครงสร้างของดีเอ็นเอ (หลังจากพอลิงประสบความสำเร็จในการบ่งชี้โครงสร้างเกลียวอัลฟาของโปรตีน) ในขณะเดียวกันหอคาร์เวนดิชของ เซอร์แบรกก์ฯ ก็ยังเป็นคู่แข่งกับมหาวิทยาลัยคิงส์คอลเลจ แห่งลอนดอนอีกด้วย

ฟรานซิส คริกมีความสนใจปัญหาพื้นฐานที่ยังแก้ไม่ตกทางชีววิทยาคือ ประการที่ 1 โมลเลกุลก่อตัวจากสิ่งไม่มีชีวิตมาเป็นสิ่งมีชีวิตได้อย่างไร ประการที่ 2 สมองสร้างจิตสำนึกได้อย่างไร คริกตระหนักดีว่าพื้นความรู้ของตนเหมาะสมกับการแก้ปัญหาแรกและกับสาขาชีวฟิสิกส์ เป็นที่ชัดเจนทางทฤษฎีว่าโควาเลนท์บอนด์ในโมเลกุลทางชีววิทยาสามารถสร้างเสถียรภาพทางโครงสร้างที่จำเป็นแก่การยึดข้อมูลพันธุกรรมในเซลล์ไว้ได้ เหลือเพียงการปฏิบัติการทดลองทางชีววิทยาเท่านั้น เพื่อการค้นหาว่าโมเลกุลใดกันแน่ที่เป็นโมเลกุลหลักของพันธุกรรม ในความเห็นของคริก การรวมทฤษฎีของดาร์วินเกี่ยวการวิวัฒนาการโดยคัดเลือกโดยธรรมชาติ และการค้นพบเกี่ยวกับพันธุกรรมและความรู้เกี่ยวกับพื้นฐานของโมเลกุลพันธุกรรมของเมนเดล เมื่อนำมารวมกันแล้วย่อมเปิดเผยความลับของชีวิตได้ ตี่ความคิดของคริกได้เปลี่ยนในภายหลังหลังจากการสังเกตและสถิติที่ไม่ตอบรับกับที่ได้แถลงไว้ตอนแรก

เป็นที่ค่อนข้างชัดเจนว่าโมเลกุลมหภาคอย่างโมเลกุลโปรตีนมีความเป็นไปได้สูงที่จะเป็นโมเลกุลพันธุกรรม และเป็นที่ทราบดีแล้วว่าโมเลกุลมหภาคของโปรตีนมีเอนไซม์ที่เป็นตัวทำปฏิกิริยาของเซลล์ ในสิบปีหลังจาก พ.ศ. 2483 ก็ได้มีการพบว่าโมเลกุลตัวหนึ่งคือดีเอ็นเอซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของโครโมโซมมีสิทธิ์จะเป็นโมเลกุลพันธุกรรมได้

อย่างไรก็ตาม หลักฐานอื่นๆ แปลความหมายเชิงแนะได้ว่า ดีเอ็นเอมีโครงสร้างไม่น่าสนใจและอาจเป็นเพียง “นั่งร้าน” สำหรับโมเลกุลโปรตีนที่น่าสนใจตัวอื่น คริกได้มาอยู่ถูกที่ ถูกเรื่องและถูกเวลา (พ.ศ. 2492) ที่ได้มาร่วมโครงการกับแมกซ์ เปอรุทซ์ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์และได้เริ่มงานผลิกศาสตร์รังสีเอกซ์ (X-ray crystallography) สำหรับโปรตีนซึ่งตามทฤษฎีแล้วสามารถเปิดโอกาสให้เห็นโครงสร้างของโมเลกุลใหญ่เช่นของโปรตีนและดีเอ็นเอได้ แต่ก็มีปัญหาใหญ่ทางเทคนิคที่ทำให้ไม่สามารถประยุกต์ศาสตร์นี้เข้ากับโมเลกุลใหญ่เหล่านี้ได้

คริกศึกษาทฤษฎีคณิตศาสตร์ของผลิกศาสตร์รังสีเอกซ์ด้วยตนเอง และในขณะที่คริกกำลังศึกษาการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์ นักวิจัยที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ก็กำลังพยายามบ่งชี้รูปที่เสถียรที่สุดของห่วงโซ่กรดอะมิโนในโปรตีน (เกลียวคู่) ที่จะไปด้วยกันได้ ไลนัส พอลิง เป็นคนแรกที่สามารถบ่งชี้สัดส่วน 3.6 ของกรดอะมิโนของเกลียวคู่ได้ คริกได้เห็นข้อผิดพลาดของเพื่อนร่วมงานในการสร้างหุ่นจำลองของของเกลียวคู่ที่ว่าถูกต้อง ซึ่งกลายเป็นบทเรียนสำคัญที่นำมาพิจารณาในการสร้างหุ่นจำลองโครงสร้างเกลียวคู่ของดีเอ็นเอ

คริกร่วมกับผู้ร่วมงานอีก 2 คนได้ช่วยกันพัฒนาทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ของการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์ในโมเลกุลเกลียวคู่ ซึ่งผลตามทฤษฎีนี้เข้ากันได้พอดีกับข้อมูลเอกซ์เรย์ที่ได้จากโปรตีนที่มีลำดับของกรดอะมิโนในเกลียวคู่อัลฟา (ตีพิมพ์ในวารสารเนเจอร์ พ.ศ. 2495) ทฤษฎีการเลี้ยวเบนของรังสีเกลียวคู่ได้กลายเป็นประโยชน์อย่างมากในการสร้างความเข้าใจโครงสร้างของดีเอ็นเอ

ปลายปี พ.ศ. 2494 คริกเริ่มงานกับเจมส์ ดี. วัตสันที่หอคาร์เวนดิชในมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ โดยใช้ผลการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์ของ มอริส วิลกินส์ เรมอนด์ โกส์สลิงและโรซาลินด์ แฟรงคลินแห่งคิงส์คอลเลจแห่งลอนดอน วัตสันและคริกได้ร่วมกันพัฒนาหุ่นจำลองของโครงสร้างเกลียวคู่ของดีเอ็นเอซึ่งตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2496 ซึ่งมีผลให้ทั้งสองคนได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยา หรือ การแพทย์ในปี พ.ศ. 2505 ร่วมกับมัวริส วิลกินส์

เมื่อ เจมส์ ดี วัตสันมาเคมบริดจ์นั้น คริกเป็นนักศึกษาปริญญาโทอายุ 35 ปี ส่วนวัตสัน อายุเพียง 23 ปี แต่ก็ได้ปริญญาเอกมาแล้ว ทั้งสองแลกเปลี่ยนความสนใจในการศึกษาพื้นฐานว่าข้อมูลทางพันธุกรรมถูกบรรจุในรูปของโครงสร้างโมเลกุลได้อย่างไร ทั้งสองคนพูดถึงดีเอ็นเออย่างไม่รู้จักจบสิ้น ชิ้นงานสำคัญจากการทดลองของมัวริสและนักศึกษาบัณฑิตศึกษาคือ เรมอนด์ โกสลิง ในปี พ.ศ. 2494 วิลกินส์ได้มาที่เคมบริดจ์และร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อมูลกับวัตสันและคริก จากการศึกษางานของนักวิทยาศาสตร์อีกหลายคนที่เกี่ยวข้องในสาขานี้ คริกและวัตสันจึงได้สร้างและจัดแสดงหุ่นจำลองของดีเอ็นเออันแรกที่คลาดเคลื่อน โดยเฉพาะวัตสันซึ่งวิตกว่ากำลังแข่งกับไลนัส พอลิงและพอลลิงอาจกำลังบ่งชี้โครงสร้างของดีเอ็นเออยู่ด้วย

หลายคนคาดเดาว่าหากพอลิงมีโอกาสเดินทางมาอังกฤษตามกำหนดในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2495 และได้เห็นการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์ของวิลกินส์/โกสลิง/แฟรงคลิน พลลิงก็น่าจะได้ความคิดกลับไปสร้างหุ่นจำลองเกลียวคู่ได้ บังเอิญกิจกรรมทางการเมืองของพอลิงทำให้รัฐบาลสหรัฐฯ ขัดขวางการเดินทางในช่วงนั้นไว้ จนกระทั่งอีกนานหลังจากนั้น พอลิงจึงได้มีโอกาสพบกับกลุ่มนักวิจัยดีเอ็นเอของอังกฤษ วัตสันกับคริกไม่ได้ทำงานในเรื่องดีเอ็นเออย่างเป็นทางการ คริกทำเรื่องนี้ในวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก ส่วนวัตสันทำงานอื่นที่พยายามทดลองการใช้ผลึกของไมโอโกลบินกับการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์ เมื่อ พ.ศ. 2495 วัตสันได้ทำการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์ในไวรัสใบยาสูบและพบว่ามันมีโครงสร้างเป็นเกลียว เมื่อล้มเหลวมาครั้งหนึ่งแล้ว ทั้งคู่จึงลังเลที่จะทำการทดลองครั้งที่ 2 อีก ทั้งสอง “ถูกห้าม” ไม่ให้ทำงานเพื่อการสร้างหุ่นจำลองของดีเอ็นเอต่อ

จุดสำคัญที่ในการพยายามสร้างหุ่นจำลองดีเอ็นเอของคริกและวัตสันอยู่ที่ความเข้าใจในเคมีพื้นฐานของโรซาลินด์ แฟรงคลินที่บ่งชี้ว่าไฮโดรฟิลิกฟอสเฟตส่วนประกอบหลักของห่วงโซ่นิวคลิโอไทด์ของดีเอ็นเอน่าจะอย่ในตำแหน่งที่สามารถทำปฏิกิริยากับโมเลกุลของน้ำที่ด้านนอกของโมเลกุล ในขณะที่ฐานของไฮโดรโฟบิกควรจะถูกอัดอยู่ในแกนกลาง แฟรงคลินไปแลกเปลี่ยนความคิดเห็นนี้กับคริกและวัตสันเมื่อเธอชี้ให้เห็นในหุ่นจำลองอันแรกของทั้งสองคน (พ.ศ. 2494 ที่มีฟอสเฟตอยู่ด้านใน) ว่าผิดโดยชัดเจน

คริกกล่าวถึงความล้มเหลวของมัวริส วิลกินส์ และโรซาลินด์ในความพยายามทำงานเพื่อหาโครงสร้างโมเลกุลของดีเอ็นเอด้วยด้วยการชี้ว่าหุ่นจำลองอันแรกผิด ซึ่งเป็นเหตุให้เขาและวัตสันได้ลงมือทำงานอีกเป็นครั้งที่สอง ทั้งสองคนได้ขออนุญาตจากแบรกก์และวิลกินส์และก็ได้รับอนุมัติให้ดำเนินงานได้ ในครั้งนี้ คริกและวัตสันได้ใช้ข้อมูลการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์ของตนเองที่นำไปแสดงในการประชุมแต่ยังไม่ได้ตีพิมพ์ของตนที่มีชื่อวิลกินส์เป็นผู้ร่วมงานด้วย รวมทั้งการใช้รายงานความก้าวหน้าเกี่ยวกับภาพที่ได้จากการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์ของแฟรงคลินที่รายงานต่อหอวิจัยของคิงส์คอลเลจของจอห์น แลนดอลล์เมื่อปลายปี พ.ศ. 2495 ด้วย

เป็นที่โต้เถียงกันมากว่าคริกและวัตสันควรใช้ข้อมูลการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์ของแฟรงคลินไปใช้อ้างอิงก่อนที่เธอจะมีโอกาสตีพิมพ์ได้หรือไม่ ต่อมาเปรุทซ์ก็ได้ตีพิมพ์เอกสารวิชาการกล่าวสนับสนุนว่าคริกและวัตสันได้ใช้ข้อมูลเฉพาะส่วนที่ได้พบปะแลกเปลี่ยนในเรื่องนี้ระหว่างวัตสันกับแฟรงคลินเมื่อปลายปี พ.ศ. 2494 แล้วเท่านั้น ไม่มีข้อมูลอื่นนอกจากที่ได้แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันในครั้งนั้น และรายงานของแฟรงคลินดังกล่าวเป็นรายงานทางการแพทย์ที่มีขึ้นเพื่อใช้ในการพบปะระหว่างนักวิจัยกลุ่มต่างๆ ที่ทำงานภายใต้ “สภาวิจัยทางการแพทย์” (MRC-Medical Research Council) ด้วยกัน

รางวัลปาฐกถาฟรานซิส คริก ราชสมาคม ลอนดอน รางวัลปาฐกถาฟรานซิส คริกก่อตั้วเมือ พ.ศ. 2546 จากการตั้งกองทุนของเพื่อนของคริก ชื่อซีดนีย์ เบรนเนอร์ ผู้ได้รับรางรัลโนเบลร่วมในสาขาสรีรวิทยาและการแพทย์ การปาฐกถามีปีละ 1 ครั้ง ในสาขาใดก็ได้ในวิทยาศาสตร์ชีววิทยา และจะเน้นพิเศษในขอบเขตวิชาที่คริกได้เคยทำงานไว้ ที่สำคัญคือกำหนดให้เฉพาะนักวิทยาศาสตร์วัยหนุ่มสาวที่มีอายุต่ำกว่า 40


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406